วันพุธที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2554

โลกร้อน น้ำมันแพง

โลกร้อน น้ำมันแพง



คอลัมน์ : บ้านเมือง-เรื่องวังจันทร์ โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์ ม.นเรศวร พะเยา
: โลกร้อน น้ำมันแพง
                ภาวะ น้ำมันราคาแพงในปัจจุบัน สร้างปัญหาให้กับทุกประเทศไม่เว้นแม้กระทั่งประเทศไทยของเรา เนื่องจากราคาน้ำมันดิบโลกราคาแพงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ประเทศไทยเราเองจึงต้องเดือดร้อน เนื่องจากประเทศไทยเราไม่มีน้ำมันดิบเป็นของตนเอง

                เมื่อ กระแสราคาน้ำมันแพง บวกกับปัญหาโลกร้อนอันเนื่องมาจากการปล่อยมลพิษ ของเสียต่างๆ รวมทั้งสารต่างๆ ที่ทำให้เกิดภาวะเรือนกระจก และสารต่างๆ เหล่านั้นส่วนหนึ่งมาจากการใช้น้ำมัน ฉะนั้นในปัจจุบันชาวโลกจึงหันมาให้ความสนใจพลังงานบริสุทธิ์หรือพลังงานทด แทน ที่ใช้แล้วไม่ไปทำลายสิ่งแวดล้อม เช่น พลังงานลม พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานไฟฟ้า รวมทั้งพลังงานอันเกิดจากพืชการเกษตร

                พลังงานอันเกิดจากภาคเกษตรนี่เอง ที่ทำให้กระแสของชาวเกษตรกรของไทยเรายิ้มออก

และ เริ่มมองเห็นภาพที่สดใสขึ้น ทำให้เกิดมีข่าวอย่างต่อเนื่องในลักษณะว่า ผู้ใช้แรงงาน ชาวไร่ ชาวนา เริ่มหันมาปลูกพืชที่สามารถแปรสภาพเป็นพลังงานทดแทนน้ำมัน เช่น  ฉันทนาแห่ปลูกปาล์ม, ตะวันออกเดิมพันโค่นสวนผลไม้ ลุยปาล์ม-ยางพารา, อีสานฮิตไร่มันฯ  เป็นต้น

                สำหรับพืชที่สามารถนำมา แปรเป็นน้ำมันคือ ถั่วเหลือง ปาล์มน้ำมัน มันสำปะหลัง ข้าวโพด ฯลฯ เมื่ออดีตพืชน้ำมันเหล่านี้มักใช้ในอุตสาหกรรมอาหารคนและอุตสาหกรรมอาหาร สัตว์ แต่ในปัจจุบันเริ่มที่จะนำมาใช้กับ อุตสาหกรรมพลังงานทดแทนมากยิ่งขึ้น

                ซึ่งโดยส่วนตัว กระผมเอง เห็นด้วยเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากการนำพืชน้ำมันมาใช้ในอุตสาหกรรมพลังงานทดแทน จะทำให้เราลดการนำเข้าน้ำมันได้มากและลดการขาดดุลการค้าต่างๆ ได้มากเช่นกัน อีกทั้งเกษตรกรเองก็มีรายได้เพิ่มขึ้น ผู้ใช้แรงงานที่ทำงานในกรุงเทพฯ ก็สามารถกลับไปทำงานในชนบทหรือบ้านเกิดของตนเองได้  สามารถลดปัญหาสังคมใน เมืองหลวงได้ระดับหนึ่ง

                เพียงแต่กระผมอยากเห็นการ สนับสนุนจากรัฐบาลอย่างเต็มที่ ช่วยเหลือเกษตรกร ผู้ลงทุน เพื่อให้เขาเกิดความมั่นใจในการลงทุน ไม่ใช่เพียงแต่สร้างกระแสให้คนปลูกพืชน้ำมันเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมพลังงานทด แทนกันมากๆ แล้วก็ลอยแพหรือไม่สนใจให้ความช่วยเหลือในอนาคต

                สำหรับประเทศในยุโรปหรือสหรัฐเอง ก็ตื่นตัวกับพลังงานทดแทนไม่น้อยไปกว่าไทยเรา

เช่น ปีที่ผ่านมา (ปี 2550) สหรัฐอเมริกานำข้าวโพดไปใช้ผลิตเอทานอลสูงถึง 80-90 ล้านตัน และปีนี้ (ปี 2551) เองสหรัฐก็ประกาศว่าจะผลิตเอทานอลจากข้าวโพดไม่ต่ำกว่าปีที่ผ่านมา

                ส่วน สหภาพยุโรป ก็เป็นห่วงเรื่องภาวะโลกร้อนและราคาน้ำมันแพง จึงใช้พลังงานทดแทนโดยนำ เรพซีด (น้ำมันพืชเมืองหนาว) ไปใช้สำหรับผลิตไบโอดีเซล เพื่อลดการใช้น้ำมันและภาวะโลกร้อน


          สำหรับ การใช้พลังงานทดแทนจากพืช นำมาใช้ทดแทนน้ำมันที่มีราคาแพง เราอาจจะมองแต่ส่วนที่ดี แต่ความจริงของชีวิต เมื่อมีส่วนดี ก็มีส่วนเสีย  สำหรับปัญหาที่เกิดจากการนำพืชน้ำมันไปใช้ในอุตสาหกรรม พลังงานทดแทนนี้ ก็คือ ผู้บริโภคต้องรับมือกับอาหารที่แพง ดังจะเห็นจากราคาน้ำมันปาล์มจากราคาเพดานที่กระทรวงพาณิชย์กำหนดให้ขวดละ 38 บาท (ขนาด 1 ลิตร) จากที่ไม่เคยขายชนราคาเพดาน แต่ปัจจุบันต้องปรับราคาเพดานขึ้นไปอยู่ที่ขวดละ 43.50 บาท สาเหตุเนื่องจากราคาผลปาล์มดิบมีราคาสูงขึ้นกิโลกรัมละ 2 บาทกว่าเป็น 6 บาทกว่า  อีกทั้งน้ำมันถั่วเหลืองต้องนำเข้ามาจากสหรัฐ เนื่องจากวัตถุดิบไม่เพียงพอต่อความต้องการของประเทศ สำหรับน้ำมันถั่วเหลืองราคาเพดานในปัจจุบันอยู่ที่ขวดละ 45.50 บาท ซึ่งมีราคาสูงกว่าในอดีต

                ณ วันนี้จึงเป็นเวลาที่อาจจะเรียกได้ว่า เป็นเวลาเปลี่ยนผ่าน จากการผลิตพืชน้ำมันเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมอาหารคนและอาหารสัตว์ มาเป็นอุตสาหกรรมพลังงานทดแทน เป็นที่น่าจับตาต่อไปว่า การเปลี่ยนผ่านดังกล่าวจะทำให้เกิดปัญหาอื่นๆ ตามมาอีกหรือไม่ เพราะการแก้ไขปัญหาอย่างหนึ่ง อาจเกิดปัญหาอีกอย่างหนึ่งตามมาเสมอ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น