วันพุธที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2554

สื่อสารมวลชนในอนาคต

สื่อสารมวลชนในอนาคต


โดย บ้านเมืองออนไลน์เมื่อเวลา 10:09:00  วันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2551
คอลัมน์ ; บ้านเมืองเรื่องวังจันทร์ : “สื่อสารมวลชนในอนาคต” (หนังสือพิมพ์บ้านเมือง ฉบับวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2551)
ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์  สำนักวิทยาการจัดการและสารสนเทศศาสตร์
ม.นเรศวร พะเยา

“สื่อสารมวลชนในอนาคต”

                ทีวี 10,000 ช่อง วิทยุ 100,000 สถานี หนังสือพิมพ์ 1,000,000 หัวหนังสือพิมพ์  กำลังจะเป็นจริง  โลกแห่งการเปลี่ยนแปลง ทำให้สื่อสารมวลชนจำเป็นจะต้องมีการปรับตัวในอนาคต ในอดีตมีคำว่า “ใครคือผู้ครอบครองสื่อ คนนั้นสามารถเปลี่ยนแปลงสังคมได้” เพราะผู้ชมหรือผู้อ่าน มักเป็นฝ่ายที่ตั้งรับ โดยเจ้าของสื่อสารมวลชนสามารถกำหนดเนื้อหาของข้อมูลข่าวสารต่างๆ ผ่านสื่อได้

                แต่ในโลกอนาคตอันใกล้ ทีวีหรือหนังสือพิมพ์ รวมทั้งสื่อสารมวลชนอื่นจะมีจำนวนมากมาย มหาศาล โดยผ่านทาง อินเตอร์เน็ต ทางทีวีก็จะเปลี่ยนเป็น “อินเตอร์เน็ตทีวี” (ไอพีทีวี)

หรือ Internet Protocol Television แล้วทางหนังสือพิมพ์ก็จะเป็น “อินเตอร์เน็ตหนังสือพิมพ์”

                ปัจจุบัน ประเทศไทยเรามีทีวีจำนวนหลักสิบ โดยมีทีวีช่องหลักและทีวีผ่านทางดาวเทียม ซึ่งนับว่ามากกว่าในอดีตที่มีจำนวนหลักหน่วย คือ ช่อง 3, 5, 7, 9 แต่ถ้ารวมกันทั้งโลกในปัจจุบันเรามีสถานีโททัศน์ทั่วโลกอยู่ที่หลักร้อย ช่อง  แต่เมื่อเข้าสู่ยุคของ “IPTV” จำนวนช่องทีวีจะมีมากถึงหลักหมื่นเลยทีเดียว

                นับ จากที่มีอินเตอร์เน็ต เกิดขึ้นมาทำให้โลกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วขึ้น คนรับรู้ข่าวสารข้อมูลมากขึ้น ทีวีหรือหนังสือพิมพ์ ที่ผ่านอินเตอร์เน็ตยังมีจุดเด่นอีกอย่างก็คือ นอกจากจะได้ดูรายการแบบเรียลไทม์เหมือนโทรทัศน์ทั่วไปแล้ว ยังสามารถเรียกดูย้อนหลังได้อีกด้วย หนังสือพิมพ์ทางอินเตอร์เน็ต วิทยุผ่านทางอินเตอร์เน็ต ก็เช่นกัน

                จุดเด่นดัง กล่าวทำให้บริษัทต่างๆ  เริ่มพัฒนาโปรแกรมเพื่อส่งข้อมูลผ่าน ทีวีทางอินเตอร์เน็ต เช่น ค่ายกูเกิล หรือยาฮู  บริษัทเมืองไทยก็เริ่มมีการขยับตัว ถ้ามีเวลาท่านผู้อ่านลองเข้าไปที่ เว็บไซต์ www.wakeupwakeupwakeup.com ท่านก็จะเห็นการพัฒนาทีวีอินเตอร์เน็ตของไทยเรา ซึ่งในเว็บไซต์มีทั้งหนังสั้นประมาณ 30 กว่าเรื่อง เพราะกำลังเปิดทำการมาประมาณ 4-5 เดือน ซึ่งจะเห็นได้ว่าผู้จัดทำทีวีอินเตอร์เน็ตทั่วโลก สามารถนำเสนอผลงานที่สร้างสรรค์ได้มากขึ้นและสามารถมีขีดการรับรู้ได้กว้าง ทั่วโลก แต่ข้อเสียก็คือ เป็นการยากต่อการควบคุม

ถ้าหากทีวี อินเตอร์เน็ตบางช่องนำเสนอเรื่องราวที่ไม่มีความเป็นจริง และไปกระทบถึงบุคคลอื่น อาจจะถึงขั้นฟ้องร้องกันในเวลาต่อมา อีกทั้งยังอาจจะมีทีวีอินเตอร์เน็ตประเภท หนังโป๊ คลิปโป๊ และ สิ่งที่ไม่มีสาระปะปนมาได้เช่นกัน ซึ่ง เว็บไซต์ประเภทดังกล่าว บ้านเรานิยมกันเนื่องจากพฤติกรรมผู้บริโภคของไทยเรานิยมใช้อินเตอร์เน็ต เพื่อความบันเทิงมากกว่าใช้เพื่อทำงานถึง 80% เลยทีเดียว

                ถ้า สื่อสารมวลชนเปลี่ยนแปลงไป ดังกล่าว เราซึ่งหมายถึงผู้บริโภคหรือผู้ชมหรือผู้อ่าน อาจไม่ใช่ผู้ที่ตั้งรับอีกต่อไป เราอาจเป็นผู้รุก ซึ่งปัจจุบันผู้บริโภคหรือประชาชนก็เริ่มรุกมากขึ้นแล้ว เช่น ทุกคนสามารถเป็นผู้สื่อข่าวได้ เพียงแต่โพสต์เรื่องขึ้นมาแล้วก็จะกระจายไปโดยอัตโนมัติ

          สำหรับ ประเทศไทยเรา การให้บริการทีวีผ่านอินเตอร์เน็ตจะต้องขอใบอนุญาตจาก กสช. ก่อน แต่ขณะนี้ กสช.ยังไม่ได้รับการอนุมัติแต่งตั้งจากวุฒิสภา แต่กระแสของสื่อสารมวลชนของโลกยุคใหม่กำลังแรง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น