วันพฤหัสบดีที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2554

อนาคตที่รออยู่ข้างหน้ากับองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค

อนาคตที่รออยู่ข้างหน้ากับองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์(ดร.โทนี่)
                เนื่องจากวันที่ 20 ตุลาคม 2554 กระผมได้มีโอกาสเข้าร่วมเวทีสภาผู้บริโภค “ อนาคตที่รออยู่ข้างหน้ากับองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ” ณ โรงแรมพะเยาเกทเวย์ จังหวัดพะเยา จัดโดย...กลุ่มงานภารกิจด้านการคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม , มูลนิธิพะเยาเพื่อการพัฒนา, สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดพะเยา,ศูนย์ให้บริการและสนับสนุนนิสิตพิการ,มหาวิทยาลัยพะเยา,สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย(คปภ.),สำนักงานยุติธรรมจังหวัด,สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพะเยา,บริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ,สำนักงานสภาทนายความจังหวัดพะเยา,เครือข่ายผู้บริโภคจังหวัดพะเยา และสนับสนุนโดย....กลุ่มงานภารกิจด้านการคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม ภายใต้...กสทช.,แผนงานคุ้มครองผู้บริโภค(คคส.),สำนักงานสำนักกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.),มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค
                ภายในเวที มีการแสดงละครสะท้อนปัญหาผู้บริโภค จาก..ชุมชนคุ้มครองผู้บริโภคโรงเรียนพะเยาพิทยาคม พิธีเปิดโดย รองผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยา มีการชมวีดีทัศน์เรื่อง “ เสียงและมุมมองเครือข่ายผู้บริโภคจังหวัดพะเยากับพรบ.องค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค” และมีช่วงเสวนา “ ประชาชนจะได้อะไรจาก พรบ.องค์การอิสระเพื่อการคุ้มครอง”
อีกทั้งยังมีการแบ่งกลุ่มย่อยตามห้อง โดยมีหัวข้อต่างๆ เช่น ด้านการบริการสาธารณะ(รถโดยสารสาธารณะ),ด้านบริการสุขภาพ(หลักประกันสุขภาพ),ด้านสินค้าและบริการทั่วไป(แร่ใยหิน),ด้านสื่อสารและโทรคมนาคมและด้านอาหาร ผลิตภัณฑ์สุขภาพ     ช่วงสุดท้ายของงานมีการนำเสนอและหาทางออกแต่ละประเด็น
                จากการเข้าร่วมเวทีดังกล่าว ทำให้กระผมได้ทราบข้อมูลและความเคลื่อนไหวของ พรบ.องค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ขณะนี้ยังอยู่ในส่วนของนิติบัญญัติหรือรัฐสภาในการพิจารณา ตามข่าว “ 30 ก.ย.2554 นางสาวสารี  อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 28 ก.ย. 54 ที่ผ่านมานางสาวยิ่งลักษณ์  ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้มีหนังสือถึงประธานรัฐสภา แจ้งผลการพิจารณาของคณะรัฐมนตรีต่อร่างพระราชบัญญัติที่ค้างการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา และได้ลงมติให้ร้องขอต่อรัฐสภาเพื่อให้ความเห็นชอบให้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติรวมทั้งสิ้น ๒๕ ฉบับ โดยในจำนวนนั้นมี ร่าง พ.ร.บ.องค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ......... และกฎหมายที่ประชาชนเข้าชื่อหมื่นรายชื่อรวมอยู่ด้วย 9 ฉบับ”
                ส่วนปัญหาที่เกิดขึ้นภายในพื้นที่จังหวัดพะเยา เนื่องจากผู้บริโภคขาดความรู้ ความเข้าใจ ขาดข้อมูลและถูกผู้ประกอบการเอาเปรียบโดยเฉพาะผู้ประกอบการรายใหญ่ทางด้านโทรคมนาคม เช่น เรื่องของค่าบริการโทรศัพท์มือถือ  , ข้อความรบกวนใจ , บริการเสริมไม่ได้สมัคร , บริการเสริมเพลงรอสาย ฯลฯ
                สำหรับในประเด็นรถโดยสารสาธารณะ ผู้บริโภคควรมีส่วนร่วมในการตรวจสอบ จับตา ร้องเรียนต่อหน่วยงานที่ดูแลในงานคุ้มครองผู้บริโภค เพื่อช่วยกันไม่ให้ผู้ประกอบการเอาเปรียบ เช่น ช่วยกันจับตาในเรื่องของคนขับรถโดยสาร หากขับด้วยความประมาท ใช้โทรศัพท์มือถือขณะขับรถ กินเหล้า สูบบุหรี่ ในขณะขับรถโดยสาร โดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัยของผู้โดยสาร , สภาพรถโดยสารบางคันมีสภาพเก่า ยางโล้น ชำรุดทรุดโทรม , พนักงานบริการ บริการด้วยคำพูดไม่สุภาพ ไร้หัวใจในงานบริการ เราสามารถร่วมแจ้งหรือให้ข้อมูลไปที่ หน่วยพิทักษ์ รถโดยสารปลอดภัย โทรศัพท์ 02-2483737 มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค แต่เป็นที่น่าแปลกใจว่า รถโดยสารประจำทางบางคัน เก่ามากๆ ซึ่งไม่น่าจะผ่านการตรวจสอบ แต่ก็ยังสามารถใช้เป็นรถโดยสารสาธารณะได้  สำหรับการประกันชีวิตหรือระบบการประกันภัย เมื่อผู้บริโภคได้รับอันตรายจากการโดยสารรถโดยสารสาธารณะ เงินค่าชดเชย บางรายได้รับค่าชดเชยน้อยมาก อีกทั้งยังต้องมีการฟ้องร้องเป็นคดีความถึงจะได้รับค่าชดเชย
                แร่ใยหิน ภัยใกล้ตัวอีกตัวหนึ่ง ที่ควรต้องระวัง แร่ใยหินทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกายทำให้เป็นโรคต่างๆ เช่น โรคปอดอักเสบจากแอสเบสตอส , โรคเยื่อหุ้มปอดหนาตัว,โรคมะเร็งปอด และ โรคมะเร็งเยื่อหุ้มปอดหรือเมโสธีลิโอมา กลุ่มที่เสี่ยงมากที่สุดเป็นกลุ่มที่ทำงานในโรงงานที่ใช้แร่ใยหิน ในภาคอุตสาหกรรม รวมถึงผู้ใช้แรงงานในการทำงานก่อสร้าง ทำลายรื้ออาคารต่างๆ ที่มีโอกาสสูดฝุ่นละอองของแร่ใยหิน
                พฤติกรรมการทานยาหรืออาหารเสริม ของผู้บริโภคในยุคปัจจุบัน ถูกผลประกอบการเอาเปรียบ ไม่ว่าการมีการโฆษณาทางวิทยุชุมชน โทรทัศน์ดาวเทียม สื่อต่างๆ ที่มีการโฆษณาเกินจริง อาหารเสริมบางตัวมีการโฆษณาถึงการรักษาโรคต่างๆ แบบครอบจักรวาล เช่น การรักษาโรคมะเร็ง , การรักษาโรคเอดส์ , การรักษาโรคติดต่อต่าง ฯลฯ อีกทั้งยังมีรถขายยาเร่ในชุมชนต่างๆ ที่นำยาที่หมดอายุ ยาที่ด้อยคุณภาพ มาขายอีกด้วย
                ดังนั้น ในความคิดเห็นของกระผม พรบ.องค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค จึงมีส่วนสำคัญในการทำให้ผู้บริโภคถูกเอารัดเอาเปรียบน้อยลง อีกทั้งพวกเราทุกคนที่เป็นผู้บริโภคควรช่วยกันสนับสนุน แต่ที่ผ่านมาพวกเราที่อยู่ในฐานะผู้บริโภคมักยินยอม และไม่ลุกขึ้นมาต่อสู้ หรือเรียกร้อง  ดังเช่น การยินยอมซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาล ที่เขียนว่าคู่ละราคาละ 80 บาท แต่ในความเป็นจริงผู้ขาย ขายในราคาเกินความเป็นจริง เป็นต้น
                แต่สิ่งที่กระผมให้ความห่วงใย หากมี พรบ.องค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค เกิดขึ้นจริงๆ อาจจะต้องแก้ปัญหาในเรื่องการบังคับใช้กฎหมายในสังคมไทยตามมา เนื่องจากผู้ที่บังคับใช้กฎหมาย ยังไม่มีการบังคับใช้กฏหมายกันอย่างจริงจัง ประเทศไทยเรามีการออกกฎหมายมามากมาย แต่มักมีปัญหาเรื่องการบังคับใช้ นี่คืออีกปัญหาหนึ่งที่เกิดขึ้นในสังคมไทย

วันอาทิตย์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2554

การสร้างนโยบายสาธารณะ

การสร้างนโยบายสาธารณะ
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
                ในช่วงที่ผ่านมากระผมได้มีโอกาสไปเป็นวิทยากรให้แก่ สำนักพัฒนาการเมืองภาคพลเมือง สถาบันพระปกเกล้า อยู่หลายหัวข้อ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ รากฐานประชาธิปไตย การสร้างสำนึกพลเมือง การสร้างนโยบายสาธารณะ ฯลฯ และล่าสุดเมื่อวันที่ 27-28 สิงหาคม 2554 ผมได้มีโอกาสบรรยายหัวข้อ การสร้างนโยบายสาธารณะและให้ผู้อบรมฝึกปฏิบัติ การสร้างนโยบายสาธารณะ เพื่อเป็นการขยายความรู้ กระผมขอเขียนบทความเพื่อความประโยชน์สำหรับผู้อ่าน ในเวทีมีผู้เข้ารับการอบรม ถามผมว่า นโยบายสาธารณะ คืออะไร มีนักวิชาการหลายท่านเคยได้ให้คำจำกัดความว่า
Dye, Thomas R. :  สิ่งที่รัฐบาลเลือกที่จะกระทำ หรือไม่กระทำ (Whatever governments chose to do or not do)
James  E.  Anderson : ข้อเสนอ หรือแนวทางปฏิบัติ (ของรัฐบาล) ที่กำหนดวัตถุประสงค์แน่นอนเพื่อให้บุคคล หรือกลุ่มบุคคลจัดการกับปัญหาหรือเรื่องที่อยู่ในความสนใจ
Stuart  S. Nagel. : การตัดสินใจของรัฐบาลเพื่อจัดการกับปัญหาต่าง ๆ ของสังคม เช่น ปัญหานโยบายต่างประเทศ  ปัญหาการป้องกันสิ่งแวดล้อม ปัญหาอาชญากรรม และปัญหาคนว่างงาน เป็นต้น
Easton, David.  : นโยบายสาธารณะเป็นเรื่องของการจัดสรรคุณค่า และผลประโยชน์ต่าง ๆ อย่างเป็นทางการ หรือ อย่างถูกต้องตามกฎหมาย สำหรับสังคมส่วนรวม(Authoritative allocation of values)
เมื่อพูดถึงเรื่องการสร้างนโยบายสาธารณะ มักมีขั้นตอนต่างๆ เช่น 1.การรวบรวมปัญหา 2.การเลือกปัญหา 3.การเก็บรวบรวมข้อมูล 4.การจัดแฟ้มนโยบาย 5.การนำเสนอนโยบายต่อผู้รับผิดชอบ
1.การรวบรวมปัญหาต่างๆ คนในชุมชนมีส่วนรวบรวมปัญหาต่างๆ เพื่อที่จะแก้ปัญหา
การสร้างนโยบายที่ดี เราควร นำเสนอนโยบายที่มีปัญหามากที่สุดในประเด็นที่สำคัญที่เกิดในชุมชนเรา ดังนั้น ชุมชนที่สร้างนโยบายสาธารณะควรมีการจัดประชุมหรือเวที เพื่อรวบรวมปัญหาต่างๆในชุมชน
2.การเลือกปัญหา เมื่อได้รวบรวมประเด็นต่างๆ ของปัญหาแล้ว เราควรให้ทุกคนในชุมชนเลือก
ประเด็นของปัญหาที่มีความสำคัญมากที่สุดมาเพียง 1 ประเด็น โดยใช้หลัก ฉันทามติ
3.การเก็บรวบรวมข้อมูล เมื่อได้ประเด็นของปัญหาแล้ว คนในชุมชนต้องรวบรวมข้อมูล โดย
ระบุ แหล่งที่มาของปัญหาว่า   ประเด็นที่เลือกปัญหานั้น มีต้นเหตุมาจากอะไร
4.การจัดแฟ้มนโยบาย ควรอธิบายปัญหา การตรวจสอบนโยบายทางเลือก การนำเสนอนโยบาย
สาธารณะ แผนงาน 
4.1.สำหรับการอธิบายปัญหา ควรเขียนเป็นประเด็นดังนี้ ทำไมรัฐบาลจึงควรมาดูแลปัญหานี้ , ปัญหานี้มีความร้ายแรงกับชุมชนอย่างไร , ปัญหาที่มีอยู่เพียงพอต่อการแก้ไขปัญหาเหล่านี้หรือไม่ เพราะอะไร ,  มีบุคคล มีกลุ่ม มีองค์กร อะไรบ้างที่สนใจปัญหาเหล่านี้ ฯลฯ
                4.2.สำหรับการตรวจสอบนโยบายทางเลือก ควรวิเคราะห์ว่านโยบายใดในปัจจุบันที่สามารถแก้ไขปัญหาเหล่านี้ได้ เสนอนโยบายทางเลือก วิเคราะห์ข้อดีข้อเสีย มีกลุ่มหรือบุคคลใดที่จะสนับสนุนหรือต่อต้านนโยบายดังกล่าว
                4.3.สำหรับการนำเสนอนโยบายสาธารณะ วิเคราะห์แนวทางในการแก้ไขปัญหาว่าจะใช้นโยบายหรือแนวทางใดดีที่สุด นโยบายที่นำเสนอตรงตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญมาตราใด เพราะเหตุใด
                4.4.สำหรับแผนงาน กิจกรรมของแผนหลักมีอะไร มีเจ้าหน้าที่รัฐหรือหน่วยงานรัฐใดที่สนับสนุน นโยบายของเรา
5.การนำเสนอนโยบายต่อผู้รับผิดชอบ เมื่อจัดทำนโยบายเสร็จแล้ว การนำเสนอนโยบายเราควรนำเสนอต่อหน่วยงานใด เช่น เสนอกระทรวงมหาดไทย เสนอผู้ว่าราชการจังหวัด เสนอสมาชิกสภาผู้แทนราษฏร ฯลฯ
เมื่อเสนอแล้วหาก หน่วยงานนั้นนำไปปฏิบัติ หรือ ประยุกต์ใช้ เมื่อปฏิบัติได้สักระยะหนึ่ง เราควรจัดเวที เพื่อ สะท้อนปัญหา แลกเปลี่ยนปัญหา เพื่อนำนโยบายนั้นมาพัฒนา ปรับปรุง เปลี่ยนแปลงให้ดีขึ้นหรือเหมาะสมขึ้น
แต่หากนำเสนอแล้ว หน่วยงานนั้นไม่นำไปปฏิบัติ เราอาจจะต้องหาวิธีการใหม่ๆ เพื่อให้เกิดนโยบายตามที่ชุมชนต้องการ
ฉะนั้น คนในชุมชนแต่ละแห่ง สามารถสร้างนโยบายสาธารณะได้ หากชุมชนมีปัญหา เราสามารถนำเสนอนโยบายสาธารณะเพื่อที่จะหาทางแก้ไขปัญหาของชุมชน ซึ่งปัญหาแต่ละชุมชนไม่เหมือนกัน ฉะนั้น นโยบายสาธารณะของชุมชนแต่ละแห่งก็มักจะไม่เหมือนกัน

               
               

วันอังคารที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

พลังสร้างชาติคือพลังของความสามัคคี

พลังสร้างชาติคือพลังของความสามัคคี
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
http://www.drsuthichai.com/
                ขออัญเชิญพระบรมราโชวาทในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จากพระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่พระราชทานแก่ประชาชนชาวไทย เนื่องในวันขึ้นปีใหม่ 2532 ถึงแม้จะผ่านมาหลายปีแต่กระผมเห็นว่ายังคงทันสมัยอยู่ อีกทั้งแสดงให้เห็นว่าความสามัคคีเป็นจริยธรรมที่มีความสำคัญในการสร้างความ เป็นปึกแผ่นมั่นคงให้ประเทศชาติ พระบรมราโชวาทในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีดังนี้

"...ความสามัคคีปรองดองเป็นอันหนึ่งอันเดียว กับความรักใคร่เผื่อแผ่ช่วยเหลือกันฉันญาติพี่น้องสอง ประการนี้ คือ คุณลักษณะสำคัญของไทย ที่ช่วยให้ชาติบ้านเมืองอยู่รอดเป็นอิสระ และเจริญมั่นคงมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน..."

เราต้องยอมรับว่า ในยุคปัจจุบันสังคมไทยมีความแตกแยกทางด้านความคิดกันมาก โดยเฉพาะเรื่องประเด็นของการเมือง ไม่ว่าเรื่องของ คนเสื้อแดง คนเสื้อเหลือง คนเสื้อน้ำเงิน คนเสื้อดำ และคนเสื้อเขียว เป็นต้น
                ซึ่งการแตกแยกดังกล่าว ทำให้เกิดความกลัว เกิดความไม่ไว้วางใจกันขึ้น บางคนไม่กล้าที่จะใส่เสื้อสีแดง หรือ เสื้อสีเหลือง ไปในที่ต่างๆ เนื่องจาก เกรงกลัวว่า กลุ่มคนเสื้อสีฝ่ายตรงกันข้ามจะเข้าใจผิด อีกทั้งอาจถูกทำร้ายได้
                การแตกแยกความคิดทางการเมืองดังกล่าวทำให้ เศรษฐกิจของประเทศ  สังคม  รวมทั้งบ้านเมืองถูกทำลาย ดังเช่นการชุมชนทางการเมืองในอดีตที่ผ่านมามีการเผา ทำลาย ตึก อาคาร สถานที่ราชการ ทำให้ประเทศไทยของเราถดถอย ในทางตรงกันข้าม ประเทศเพื่อนบ้านของเรากลับเจริญรุดหน้า ไม่ว่าจะเป็นเวียดนาม เขมร มาเลเซีย ฯลฯ
                เนื่องจากประเทศเหล่านี้ไม่ได้เกิดการแตกแยกกันภายในประเทศ แต่ประเทศเหล่านี้กลับมีความสามัคคีกันของคนในชาติ จึงทำให้เกิดการรุดหน้าทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง
                ในประวัติศาสตร์ชาติไทยของเรา ชาวบางระจัน ชนะศึกสงครามเพราะอะไร ในอดีตไทยเรา สมเด็จพระนเรศวร ทรงชนะศึกเพราะเหตุใด หรือ พระเจ้าตากสินมหาราชชนะศึกเพราะเหตุใด ไม่ใช่เพราะความสามัคคีของคนในชาติหรือ
                ความสามัคคีมีความสำคัญมาก ความสามัคคีจะช่วยให้ชาติของเรา สามารถแข่งขันกับประเทศอื่นๆได้อย่างมั่นคงและถาวร  ดังสัตว์ชนิดหนึ่งคือ ปลวก ปลวกเป็นสัตว์ตัวเล็กๆ แต่ปลวกสามารถสร้างจอมปลวกอันเข้มแข็งใหญ่โตเท่าภูเขาลูกเล็กๆขึ้นมาได้ ซึ่งจอมปลวกสามารถทนต่อลมฝน อีกทั้งพายุไม่สามารถจะทำลายลงได้ ทั้ง นี้เพราะเหตุใด  ก็เพราะปลวกเป็นสัตว์ตัวเล็กที่รู้จักช่วยเหลือกัน รู้จักความสามัคคี ทำงานกันเป็นทีม และมีความรู้สึกรับผิดชอบต่อหน้าที่ของมัน
หากพวกเรามีความสามัคคีกัน กระผมเชื่อว่า หากสังคมไทย ต้องการมีความสงบสุข มีความเจริญก้าวหน้า มีความอบอุ่นและน่าอยู่มากกว่าทุกวันนี้  เราคงหนีไม่พ้นในเรื่องของความสามัคคีกัน เพราะความสามัคคีจะก่อให้เกิด การเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกันอย่างสันติ เกิดการเรียนรู้ในเรื่องการเข้าอกเข้าใจซึ่งกันและกัน ยอมรับในความแตกต่างซึ่งกันและกัน ช่วยเหลือกัน ให้กำลังใจซึ่งกันและกัน และรู้จักการให้อภัยกัน
                 ดังนั้น หากเรา มาร่วมมือกันพัฒนาสังคมของเราให้มีความอบอุ่นและน่าอยู่ ก็ด้วยการเสริมสร้างความสามัคคีเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันให้เกิดขึ้นในสังคม ไทยของ เรา แล้วเราจะได้พบกับสันติภาพและความอบอุ่นที่เราแต่ละคนต่างก็ปรารถนาและใฝ่ ฝันหาตลอดมา
                ท้ายนี้อยากฝากบทเพลงที่มีความหมายชื่อเพลง “รักกันไว้เถิด” ที่แต่งเนื้อร้องโดยครูนคร ถนอมทรัพย์

“รักกันไว้เถิด เราเกิดร่วมแดนไทย จะเกิดภาคไหนก็ไทยด้วยกัน เชื้อสายประเพณีไม่มีกัดกั้น เกิดใต้ธงไทยนั้นปวงชนทุกคนคือไทย…"

วันพุธที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2554

สภาประชาชน สภาผู้บริโภค

สภาประชาชน สภาผู้บริโภค
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
                เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2554 กระผมได้มีโอกาสเข้าร่วม เวที สภาประชาชน “ คนพยาว ฮ่วมกึ๋ด อู้จ๋า สภาผู้บริโภค ”  ณ  ห้องประชุมพุดตาน โรงแรมเกทเวย์ อ.เมือง จ.พะเยา ภายในงานมีรายการต่างๆ เช่น มีการแสดง จ๊อย ซอ เรื่องสิทธิผู้บริโภค , ชมวีดีทัศน์ “ หนึ่งปีที่ผ่านมากับการทำงานคุ้มครองผู้บริโภคในจังหวัดพะเยา ” , พิธีเปิด “ เวทีสภาผู้บริโภคจังหวัดพะเยา ” , บรรยาย “ ทิศทางการทำงานคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคจังหวัดและ ความร่วมมือเครือข่ายผู้บริโภคจังหวัดพะเยา ” ,  บรรยายเรื่อง “ ผู้บริโภคได้อะไรจาก พ.ร.บ.องค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ” , และมีการแบ่งกลุ่มห้องเรียนผู้บริโภคในหัวข้อต่างๆ เช่น ห้องที่ 1 ผู้บริโภคกับบริการด้านโทรคมนาคม , ห้องที่ 2 พฤติกรรมผู้บริโภคกับการใช้ยา , ห้องที่ 3 รถโดยสารสาธารณะเมืองไทย ปลอดภัยจริงหรือ , ห้องที่ 4 ภัยใกล้ตัวผู้บริโภค จากผลิตภัณฑ์แร่ใยหิน , ในช่วง บ่าย มีการแสดง ละครสั้น “ สะท้อนปัญหาผู้บริโภค ” โดยแกนนำเยาวชนชุมนุมคุ้มครองผู้บริโภค โรงเรียนพะเยาพิทยาคม และมีการสรุป นำเสนอความคิดเห็นของผู้บริโภคในจังหวัดพะเยา
                สำหรับเรื่อง รถโดยสารสาธารณะเมืองไทย ปลอดภัยจริงหรือ วิทยากรหลักโดย ผศ.ดร.สมประสงค์ สัตยมัลลี สำหรับความคิดเห็นของกระผมคิดว่าเรื่องของการบริการและความปลอดภัยรถโดยสาร สาธารณะถ้าเทียบจากอดีตกระผมคิดว่ามีการพัฒนาไปในทางที่ดีขึ้น และถ้าเทียบกับหลายประเทศในประเทศเพื่อนบ้านเราดีกว่าหลายประเทศ แต่ถ้าหากเทียบกับประเทศที่เจริญแล้ว ยังอเมริกา ฝรั่งเศส อังกฤษ ประเทศไทยของเราก็คงเทียบในเรื่องการบริการและความปลอดภัยรถโดยสารสาธารณะ นั้นคงยาก ด้านอุบัติเหตุที่ปรากฏเป็นข่าว เมื่อเดือนมีนาคม 52 – กรกฏาคม 53 (1 ปี 4 เดือน) ในรถประเภทต่างๆ อุบัติเหตุจำนวน 260 ครั้ง จำนวนผู้ประสบภัย 2,139 คน บาดเจ็บ 1,988 คน เสียชีวิต 151 คน กระผมคิดว่าเป็นความสูญเสียที่เกิดขึ้นซ้ำซาก ซึ่งอุบัติเหตุดังกล่าวมีปัจจัยมาจาก คนขับรถโดยสาร สภาพรถโดยสารที่ไม่มั่นคงปลอดภัย(ล้อรถไม่มีดอกยาง รถมีการดัดแปลง มีความไม่แข็งแรง) สภาพถนนต่างๆ ที่ไม่ได้มาตรฐาน ฯลฯ ซึ่งเป็นที่น่าเสียใจเนื่องจากการสูญเสียหรือความเสียหายที่เกิดขึ้นทำให้ เกิดการเสียค่าใช้จ่ายไม่ว่าจะเป็นค่ารักษาพยาบาล ค่าปลงศพ , ภาระค่ารักษาที่มากกว่าเงินประกันภัยที่ได้รับ , การเสียโอกาสในการเดินทางและการทำงานในอนาคต และ สภาพจิตใจที่ต้องใช้เวลาฟื้นฟู สำหรับเรื่องของสภาพรถโดยสาร บางคัน ผมเคยเห็นบางคัน ไม่น่าจะมาเป็นรถโดยสารได้ เนื่องจากสภาพรถที่ไม่มั่นคงปลอดภัย แต่ก็มีรถหลายคันยังสามารถขับขี่บนท้องถนนได้ ถึงแม้จะมีการตรวจสภาพจากหน่วยงานที่รับผิดชอบมาแล้วก็ตาม กระผมก็ไม่ทราบว่าเป็นเพราะเหตุใด ด้านสถานีขนส่งหลายจังหวัดมีสภาพคล้ายคลึงกัน กล่าวคือ สภาพห้องน้ำที่มีกลิ่นเหม็น แถมบางแห่งยังมีการเก็บค่าเข้าห้องน้ำอีกต่างหาก สภาพถนนที่มีสภาพที่ไม่ได้มาตรฐาน ฯลฯ ส่วนบริษัทประกันภัย ก็ได้เสนอจ่ายเงินค่าชดเชยหรือผลของการเยียวยา จำนวนน้อยกว่าค่าใช้จ่ายจริงในการเกิดอุบัติเหตุ จนต้องมีการฟ้องร้องและไกล่เกลี่ยเจรจากัน หลังฟ้อง เช่น กรณีนางสาวคนหนึ่ง ได้รับบาดเจ็บใบหน้าฟกช้ำ เลือดคั่งในสมอง บริษัทประกันภัยได้เสนอจ่าย 4,700 บาท ตกลงกันไม่ได้กับผู้เสียหาย จึงฟ้องร้องในขั้นเจรจาไกล่เกลี่ยหลังฟ้องเป็นคดีได้รับเงิน 50,000 บาท
 กระผมขอฝากท่านผู้อ่านในเรื่อง สิทธิของผู้ใช้บริการรถโดยสารสาธารณะ 10 ประการ ตามสิทธิตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภคฯ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ดังนี้ 1.สิทธิที่จะได้รับข้อมูลข่าวสารรวมทั้งคำพรรณนาคุณภาพเกี่ยวกับบริการรถ โดยสาร รวมทั้งความคุ้มครองตามกรมธรรม์ประกันภัย ที่ถูกต้องเป็นจริงครบถ้วน เพียงพอต่อการตัดสินใจใช้บริการ 2.ผู้โดยสารมีสิทธิที่จะได้รับความเป็นธรรมในด้านสัญญา และราคาค่าบริการ 3.ผู้โดยสารมีอิสระในการเลือกใช้บริการด้วยความสมัครใจ และปราศจากการชักจูงใจอันไม่เป็นธรรม 4.สิทธิที่จะได้รับความปลอดภัยในทุกๆ ด้านจากการใช้บริการรถโดยสาร 5.สิทธิที่จะได้รับการบริการจากรถโดยสารและผู้ให้บริการที่มีคุณภาพมาตรฐาน 6.สิทธิในการร้องเรียนหรือฟ้องร้องเพื่อให้ผู้ให้บริการหรือหน่วยงานที่ เกี่ยวข้องดำเนินการแก้ไขปัญหา เยียวยา หรือชดใช้ความเสียหายที่เกิดขึ้น 7.สิทธิที่จะได้รับการชดใช้ความเสียหายจากการประกันภัยโดยไม่มีการประวิง เวลา หรือบังคับให้ประนีประนอมยอมความ 8.สิทธิที่จะได้รับการชดใช้ความเสียหายทั้งทางร่างกาย อนามัย เสรีภาพ ทรัพย์สินและสิทธิอื่นๆ ที่ถูกละเมิด 9.สิทธิที่จะได้รับการชดใช้ความเสียหายด้วยหลักแห่งพฤติการณ์และความร้ายแรง แห่งละเมิด 10.สิทธิที่จะรวมตัวกันเพื่อพิทักษ์สิทธิของตนและของผู้อื่น
                สำหรับ เรื่อง ผู้บริโภคกับบริการด้านโทรคมนาคม  ส่วนใหญ่ประชาชนชาวพะเยาที่เข้าร่วมสัมมนามักจะมีปัญหาเกี่ยวกับค่าใช้จ่าย ที่ไม่เป็นธรรมในการใช้บริการของโทรศัพท์ทั้งโทรศัพท์พื้นฐานและโทรศัพท์มือ ถือ โดยเฉพาะโทรศัพท์มือถือ มีค่าใช้จ่ายที่ไม่เป็นธรรมหลายๆ อย่าง เช่น การสมัคร SMS ง่าย แต่ยกเลิกยาก ,  มีการหักเงินหรือเรียกค่าใช้จ่ายเกินจริงหรือจำนวนที่ใช้จริง ฯลฯ
                ฉะนั้น พวกเราในฐานะผู้ใช้บริการ ขอให้ช่วยกันเรียกร้องความยุติธรรมเกี่ยวกับการใช้บริการ อย่าให้บริษัทหรือเจ้าของกิจการเอาเปรียบได้
              

เด็กนอกระบบ

เด็กนอกระบบ
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
www.drsuthichai.com
                เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2553 กระผมได้มีโอกาสไปร่วมเป็นวิทยากรร่วมงานเสวนา “ พลังรักพลังอำนาจของเยาวชนในเทศบาลแม่กาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ” จัดโดย เทศบาลแม่กา สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการเสริมสร้างสุขภาพ(สสส.)และสำนักงานส่งเสริมสังคม แห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน(สสค.)
                โดยในเวทีได้พูดถึงเรื่องประเด็น เด็กนอกระบบ สถานการณ์ในปัจจุบันของเด็กนอกระบบตำบลแม่กา จังหวัดพะเยา และ วิธีการแก้ไขปัญหาเด็กนอกระบบ ซึ่งมีตัวแทนจาก ภาคศาสนา(พระสงฆ์) , ภาควิชาการ(กระผม),ภาคการศึกษานอกโรงเรียนและตัวแทนเทศบาลแม่กา
                ถ้าพูดถึง เด็กนอกระบบ หมายถึง เด็กที่ไม่มีโอกาสได้เรียนในระบบการศึกษา (โดยปัจจุบันมีเด็กนอกระบบ ที่ออกจากระบบการศึกษาในระดับประถมศึกษา(สูงสุด)และเด็กนอกระบบที่ออกจาก ระบบการศึกษาในระบบ ระบบมัธยมศึกษา(รองลงมา) ถึงแม้ทางรัฐบาลได้ออกกฏหมายบังคับให้เด็กเรียน 15 ปี ในระบบก็ตาม แต่ความเป็นจริง แต่ละโรงเรียนก็มีการถูกประเมินการศึกษาจากหน่วยงานต่างๆ เช่น สมศ.  จึงทำให้แต่ละโรงเรียนต้องสร้างเด็กให้ได้มาตรฐาน ทั้งเป็นคนดีและเป็นคนเก่ง จึงทำให้เด็กที่มีคุณภาพต่ำกว่าจากมาตรฐานหลุดออกจากการศึกษาในระบบที่ละคน สองคน ซึ่งเด็กกลุ่มนี้เป็นเด็กที่น่าสงสารเนื่องจาก เป็นเด็กที่เรียนไม่เก่ง หัวไม่ดี มีปัญหาครอบครัว เป็นเด็กยากจน มีปัญหา ขาดคนเข้าใจ
                เมื่อเด็กกลุ่มดังกล่าวหลุดออกจากระบบการศึกษาก็ทำให้เด็กดำเนินชีวิตตาม ยถากรรม ขณะที่เพื่อนเรียนในระบบ ใช้เวลาอยู่ในระบบ แต่เด็กกลุ่มนี้ ต้องอยู่ที่บ้าน อยู่ตามร้านเกมส์ อยู่ตามสถานบันเทิงต่างๆ แล้วเด็กกลุ่มดังกล่าวก็จะก่อปัญหาแก่สังคมต่อๆไป ไม่ว่า ก่อปัญหายาเสพติด ก่อปัญหาอาชญากรรม ก่อปัญหาการทำร้ายร่างกายกัน ปัญหาลักจี้ชิงปล้น และปัญหาอื่นๆ
                สำหรับแนวทางในการแก้ไขปัญหาเด็กนอกระบบ เราจะทำอย่างไร กระผมขอตอบแบบกำปั้นทุบดินว่า เราก็คงต้องเอา เด็กนอกระบบ กลับเข้าสู่ระบบ เสีย แต่ถ้าเป็นระบบในปัจจุบัน กลุ่มเด็กนอกระบบดังกล่าวคงไม่สามารถเข้าไปสู่ในระบบได้ เนื่องจากโรงเรียนแต่ละแห่งคงไม่อยากรับ เราคงต้องหาระบบที่มีมาตราฐานต่ำกว่าการศึกษาในระบบ เช่น ระบบการศึกษานอกโรงเรียน(กศน.) หรือ การออกแบบกิจกรรมต่างๆ ของหน่วยงานหรือองค์กรพัฒนาเอกชน(NGO) ต่างๆ ที่ต้องออกแบบกิจกรรมหลักสูตรเพื่อรองรับ เด็กนอกระบบ ดังกล่าว เช่น หลักสูตรประกอบอาชีพเพื่อให้เด็กนอกระบบมีอาชีพในการทำงานได้ในอนาคต
                ด้าน วัดหรือสถานปฏิบัติธรรมก็ช่วย เด็กกลุ่มนี้ได้ระดับหนึ่ง แต่คงต้องมีการปรับเปลี่ยนกิจกรรมในการสอนหรืออบรม (ขนาดเด็กในระบบบางส่วนยังไม่ค่อยชอบในการอบรมของวัดบางแห่งซึ่งการอบรมไม่ เร้าใจและไม่สร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้ในเด็กกลุ่มนี้)
                สรุป ปัญหาเด็กนอกระบบ คงต้องหาเจ้าภาพดูแล เจ้าภาพที่ควรดูแลมากที่สุด คงต้องเป็นรัฐบาล แต่เราจะไปหวังอะไรมากจากรัฐบาลไม่ได้ เนื่องจากรัฐบาลแต่ละชุดมีปัญหาในระดับประเทศต้องแก้ไขมากมาย ดังนั้นจึงคงต้องเป็นหน้าที่ของหน่วยงานท้องถิ่นที่ต้องสัมผัสกับเด็กนอก ระบบในพื้นที่ หน่วยงานท้องถิ่น เช่น เทศบาล , อบต. , อบจ. ฯลฯ  ซึ่งสำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.) คงมีแนวความคิดนี้เช่นกัน จึงได้ให้ทุนองค์กรส่วนท้องถิ่นหรือหาความร่วมมือโดยการจัดทำโครงการเพื่อ การแก้ไขปัญหาเด็กนอกระบบ
                   แต่การแก้ปัญหาเด็กนอกระบบไม่ใช่เรื่องง่ายๆ เนื่องจาก ปัญหาดังกล่าวเปรียบเทียบแล้ว คงเหมือนเชือก 1 เส้น ที่มีปมหลายปม แก้ปมนี้ อาจจะต้องเจออีกปมหนึ่ง เนื่องจากปัญหาเด็กนอกระบบมีความซับซ้อน และเกี่ยวโยงกับปัญหาอื่นๆ ด้วย กล่าวคือ เกี่ยวกับปัญหาครอบครัว,เกี่ยวกับปัญหาบริโภคนิยม,เกี่ยวกับปัญหายาเสพติด, เกี่ยวกับปัญหาสังคม ฯลฯ
              
              
              

คอร์รัปชั่นภัยร้ายสังคมไทย

คอร์รัปชั่นภัยร้ายสังคมไทย
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
             ก็ผ่านไปเรียบร้อยแล้ว สำหรับการประชุม ป.ป.ช.โลกครั้งที่ 14 ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 10-13 พฤศจิกายน 2553 ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ในการจัดงานครั้งนี้ประเทศไทยได้รับเป็นเจ้าภาพการประชุมนานาชาติ ภายใต้แนวคิดที่ว่า “ คืนความเชื่อมั่น : ทั่วโลกโปร่งใส สู้ภัยทุจริต ” 
                  โดยในวันแรกมี นายกรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ประธานกรรมการ ป.ป.ช.และประธานสภาหอการค้า ลงนามแถลงการณ์ร่วมในการดำเนินการร่วมกันเพื่อแก้ปัญหาการทุจริตการจัดซื้อ จัดจ้างในภาครัฐ ต่อหน้าผู้มาประชุมเกือบ 1,000 คน อันได้แก่ 
                      ผู้นำโลก นักวิชาการและนักเคลื่อนไหวของกลุ่มพัฒนาองค์กรจาก 113 ประเทศ ความจริงถ้าพูดถึงเรื่องของการคอร์รัปชั่นในเมืองไทยนั้น มีมาช้านานแล้ว จนกระทั้งบางหน่วยงาน บางองค์กรและคนของหน่วยงาน รวมทั้งประชาชนบางส่วน ถือว่าเป็นเรื่องปกติธรรมดาไปเลยก็มี 
                       จนมีคนกล่าวว่าประเทศไทยติดอันดับต้นๆ ของประเทศที่ทุจริตคอร์รัปชั่นมากที่สุดในภูมิภาคและในโลก ดังผลสำรวจความคิดเห็นของ สำนักวิจัยเอแบคโพล เมื่อเดือนตุลาคม พบตัวเลขที่น่าตกใจว่าคนไทยเห็นว่ารัฐบาล “ โกงก็ไม่เป็นไร ” มีจำนวนเพิ่มขึ้น จากร้อยละ 63.2 เมื่อปี 2551 เพิ่มเป็นร้อยละ 76.1 ในปีนี้ 
                     ความจริงการทุจริตในเมืองไทยเกิดขึ้นจากคนสามกลุ่มใหญ่ๆ คือ ข้าราชการ นักการเมือง และนักธุรกิจ การทุจริตที่เห็นได้ชัดเจนเพราะมีผลประโยชน์มาก ส่วนใหญ่เป็นการโกงจากการก่อสร้างโครงการต่างๆ ของภาครัฐ เช่น ตึก อาคาร ถนน ฯลฯ 
                        ปีๆหนึ่งประชาชนผู้ที่ต้องเสียภาษี ต้องถูกโกงจากบุคคลสามฝ่ายไปปีละประมาณ 25,000-30,000 ล้านบาท อีกทั้งการจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานรัฐบางแห่งมีการทุจริตได้เปอร์เซ็นต์ จากการจัดซื้อจัดจ้าง ตามที่พวกเราคงได้เห็นกันตามสื่อต่างๆ 
                        ถามว่าถ้าหากพวกเราสามารถแก้ไขปัญหาเงินที่ถูกโกงไปได้ เราก็สามารถใช้เงินเหล่านี้ไปพัฒนาประเทศชาติได้มากยิ่งขึ้น เช่น เราสามารถสร้าง โรงพยาบาลเพิ่มขึ้น เราสามารถจ้างแรงงานเพิ่มมากขึ้น เราสามารถสร้างโรงเรียน หรือให้การศึกษาแก่เด็กและเยาวชนของเราได้อีกมากมาย ถามว่าเราสามารถจะแก้ปัญหาการคอร์รัปชั่นในประเทศได้ไหม ในความคิดเห็นของกระผมแก้ได้ ถ้าหาก รัฐบาลหรือผู้บริหารประเทศเอาจริงเอาจังในเรื่องดังกล่าว 
                           อีกทั้งบทลงโทษทางกฎหมายต้องมีความรุนแรง และมีผลบังคับกันอย่างจริงจัง อีกทั้งรัฐบาลต้องสร้างจิตสำนึกแก่ ข้าราชการ นักธุรกิจและนักการเมือง ไปพร้อมๆกัน แต่หากดูจากสถานการณ์ในปัจจุบันแล้ว รัฐบาลชุดนี้ ยังมีข่าวเรื่องของคอร์รัปชั่นตามสื่อต่างๆ อีกทั้งมีบุคคลหลายฝ่ายออกมาพูดถึงเรื่องของการคอร์รัปชั่นของรัฐบาลกันอยู่ 
                                ซึ่งตามความเป็นจริงบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับคอร์รัปชั่นก็คือ คนที่มีอำนาจในบ้านเมืองนั้นเอง ไม่ว่าจะเป็นนักการเมืองในตำแหน่งสำคัญทางการเมือง นักธุรกิจระดับประเทศที่มักจะมีข่าวเรื่องของผลประโยชน์ต่างๆ จากนโยบายของภาครัฐ ข้าราชการหรือนักบริหารในภาครัฐ ที่คุมค่าใช้จ่ายในการจัดซื้อจัดจ้างต่างๆ
                         ผมเองได้มีโอกาสอ่านหนังสือพิมพ์ เจอเด็กหญิงดวงดี แซ่ลี้ หรือ น้องหนิง ให้สัมภาษณ์ผ่านสื่อว่า “หนูเริ่มทำความดีจากการให้เพื่อนยืมของ เช่น ดินสอ ยางลบ ไม่พูดโกหกและยังช่วยเก็บขยะที่มีคนทิ้งเรี่ยราดในบริเวณโรงเรียน สิ่งที่คุณครูสอนและความรู้ที่ได้ทำกิจกรรมทำให้เรานำมาใช้ในชีวิตประจำวัน ได้
                        มีครั้งหนึ่งคุณครูเคยทดสอบพวกหนูด้วยการทำกระเป๋าเงินหล่นหาย แล้วหนูก็เก็บไปคืนและประกาศหาเจ้าของจนเจอ ทำให้ได้รับคำชมและรู้สึกดีใจที่ได้ทำความดี ” จากข้อความข้างต้น ที่เด็กหญิงดวงดี แซ่ลี้หรือน้องหนิง ได้กล่าว ผมรู้สึกอายแทนผู้ใหญ่ในบ้านเมืองบางคนได้ร่วมมือกันเพื่อโกงกินเงินของภาค รัฐ ถามว่าจิตสำนึกของตนอยู่ไหน หากเปรียบเทียบกับเด็กหญิงตัวเล็กๆ คนหนึ่ง หรือว่าประเทศชาติ บ้านเมืองเรา มีการบังคับใช้กฎหมายหรือการปฏิบัติ 
                   สองมาตรฐานจริง ข่าวการที่ชาวบ้านบุกรุกที่ทำกินหรือแม่ลูกอ่อนขโมยนมเพื่อเลี้ยงลูกต้องถูก จับถูกลงโทษ แต่ในทางกลับกันบุคคลที่มีอำนาจ ร่ำรวยกับไม่ถูกลงโทษ ทั้งๆที่บุคคลที่มีอำนาจบางคนบุกรุกป่า บุกรุกภูเขา โกงกินคอร์รัปชั่นแต่ยังสามารถยิ้มแย้มแจ่มใสและได้รับการเคารพนับถือจากผู้ คนในสังคม

ยกระดับบริการและความปลอดภัยรถโดยสารสาธารณะ

ยกระดับบริการและความปลอดภัยรถโดยสารสาธารณะ
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
http://www.drsuthichai.com/
                เมื่อวันที่ 15-16 พฤศจิกายน 2553 กระผมได้มีโอกาสเข้าร่วมเวทีสัมมนารับฟังความคิดเห็นเพื่อยกระดับบริการและ ความปลอดภัยรถโดยสารสาธารณะ ณ ห้องประชุมเวียงพนา โรงแรมลำปางเวียงทอง อ.เมือง จ.ลำปาง จัดโดยมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค(มพบ.)ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้าง เสริมสุขภาพ(สสส.) โดยจัดทั้งหมด 5 ภูมิภาค ได้แก่ ภาคกลางและตะวันออก   ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันตก และภาคใต้
                สำหรับเวทีที่กระผมเข้าร่วมเป็นเวทีที่จัดในส่วนของภาคเหนือ มีผู้เข้าร่วมเป็นนักวิชาการ หน่วยงานด้านคุ้มครองผู้บริโภคทั้งภาครัฐและเอกชน สื่อมวลชน เครือข่ายผู้บริโภคและประชาชนใน 8 จังหวัดในพื้นที่ภาคเหนือ
                ในวันแรก ได้มีภาคบรรยายและการแสดงความคิดเห็นในที่ประชุม ในเรื่อง “ สถานการณ์ความไม่ปลอดภัยของรถโดยสารสาธารณะและเกร็ดความรู้ของกระบวนการสืบ สวนสอบสวนอุบัติเหตุที่ควรรู้”  โดย ผศ.ดร.สมประสงค์ สัตยมัลลี และ การนำเสนอข้อมูลโครงสร้างรูปแบบการประกอบการโดยสารสาธารณะของประเทศไทย โดย ดร.สุเมธ องกิตติกุล สำหรับวันที่สอง ทางมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องบริการและสถาการณ์ความไม่ปลอดภัยของรถโดยสาร สาธารณะ โดยนายอิฐบุรณ์ อ้นวงษา และ นางสาวสวนีย์ ฉ่ำเฉลี่ยว
                จากเวทีดังกล่าวทำให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาได้รับข้อมูลต่างๆ มากขึ้นอีกทั้งผู้เข้าร่วมได้เสนอความคิดเห็นเพื่อเติมเต็มในเรื่องดังกล่าว ข้างต้น
                สำหรับความคิดเห็นของกระผมคิดว่าเรื่องของการบริการและความปลอดภัยรถโดยสาร สาธารณะถ้าเทียบจากอดีตกระผมคิดว่ามีการพัฒนาไปในทางที่ดีขึ้น และถ้าเทียบกับหลายประเทศในประเทศเพื่อนบ้านเราดีกว่าหลายประเทศ แต่ถ้าหากเทียบกับประเทศที่เจริญแล้ว ยังอเมริกา ฝรั่งเศส อังกฤษ ประเทศไทยของเราก็คงเทียบในเรื่องการบริการและความปลอดภัยรถโดยสารสาธารณะ นั้นคงยาก
                ด้านอุบัติเหตุที่ปรากฏเป็นข่าว เมื่อเดือนมีนาคม 52 – กรกฏาคม 53 (1 ปี 4 เดือน) ในรถประเภทต่างๆ อุบัติเหตุจำนวน 260 ครั้ง จำนวนผู้ประสบภัย 2,139 คน บาดเจ็บ 1,988 คน เสียชีวิต 151 คน กระผมคิดว่าเป็นความสูญเสียที่เกิดขึ้นซ้ำซาก ซึ่งอุบัติเหตุดังกล่าวมีปัจจัยมาจาก คนขับรถโดยสาร สภาพรถโดยสารที่ไม่มั่นคงปลอดภัย(ล้อรถไม่มีดอกยาง รถมีการดัดแปลง มีความไม่แข็งแรง) สภาพถนนต่างๆ ที่ไม่ได้มาตรฐาน ฯลฯ
                ซึ่งเป็นที่น่าเสียใจเนื่องจากการสูญเสียหรือความเสียหายที่เกิดขึ้นทำให้ เกิดการเสียค่าใช้จ่ายไม่ว่าจะเป็นค่ารักษาพยาบาล ค่าปลงศพ , ภาระค่ารักษาที่มากกว่าเงินประกันภัยที่ได้รับ , การเสียโอกาสในการเดินทางและการทำงานในอนาคต และ สภาพจิตใจที่ต้องใช้เวลาฟื้นฟู
                สำหรับเรื่องของสภาพรถโดยสาร บางคัน ผมเคยเห็นบางคัน ไม่น่าจะมาเป็นรถโดยสารได้ เนื่องจากสภาพรถที่ไม่มั่นคงปลอดภัย แต่ก็มีรถหลายคันยังสามารถขับขี่บนท้องถนนได้ ถึงแม้จะมีการตรวจสภาพจากหน่วยงานที่รับผิดชอบมาแล้วก็ตาม กระผมก็ไม่ทราบว่าเป็นเพราะเหตุใด
                ด้านสถานีขนส่งหลายจังหวัดมีสภาพคล้ายคลึงกัน กล่าวคือ สภาพห้องน้ำที่มีกลิ่นเหม็น แถมบางแห่งยังมีการเก็บค่าเข้าห้องน้ำอีกต่างหาก  สภาพถนนที่มีสภาพที่ไม่ได้มาตรฐาน  ฯลฯ
                ส่วนบริษัทประกันภัย ก็ได้เสนอจ่ายเงินค่าชดเชยหรือผลของการเยียวยา จำนวนน้อยกว่าค่าใช้จ่ายจริงในการเกิดอุบัติเหตุ จนต้องมีการฟ้องร้องและไกล่เกลี่ยเจรจากัน หลังฟ้อง เช่น กรณีนางสาวคนหนึ่ง ได้รับบาดเจ็บใบหน้าฟกช้ำ เลือดคั่งในสมอง บริษัทประกันภัยได้เสนอจ่าย 4,700 บาท ตกลงกันไม่ได้กับผู้เสียหาย จึงฟ้องร้องในขั้นเจรจาไกล่เกลี่ยหลังฟ้องเป็นคดีได้รับเงิน 50,000 บาท
                สุดท้ายนี้ กระผมขอฝากท่านผู้อ่านในเรื่อง สิทธิของผู้ใช้บริการรถโดยสารสาธารณะ 10 ประการ ตามสิทธิตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภคฯ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ดังนี้
1.สิทธิที่จะได้รับข้อมูลข่าวสารรวมทั้งคำพรรณนาคุณภาพเกี่ยวกับบริการรถ โดยสาร รวมทั้งความคุ้มครองตามกรมธรรม์ประกันภัย ที่ถูกต้องเป็นจริงครบถ้วน เพียงพอต่อการตัดสินใจใช้บริการ
2.ผู้โดยสารมีสิทธิที่จะได้รับความเป็นธรรมในด้านสัญญา และราคาค่าบริการ
3.ผู้โดยสารมีอิสระในการเลือกใช้บริการด้วยความสมัครใจ และปราศจากการชักจูงใจอันไม่เป็นธรรม
4.สิทธิที่จะได้รับความปลอดภัยในทุกๆ ด้านจากการใช้บริการรถโดยสาร
5.สิทธิที่จะได้รับการบริการจากรถโดยสารและผู้ให้บริการที่มีคุณภาพมาตรฐาน
6.สิทธิในการร้องเรียนหรือฟ้องร้องเพื่อให้ผู้ให้บริการหรือหน่วยงานที่ เกี่ยวข้องดำเนินการแก้ไขปัญหา เยียวยา หรือชดใช้ความเสียหายที่เกิดขึ้น
7.สิทธิที่จะได้รับการชดใช้ความเสียหายจากการประกันภัยโดยไม่มีการประวิงเวลา หรือบังคับให้ประนีประนอมยอมความ
8.สิทธิที่จะได้รับการชดใช้ความเสียหายทั้งทางร่างกาย อนามัย เสรีภาพ ทรัพย์สินและสิทธิอื่นๆ ที่ถูกละเมิด
9.สิทธิที่จะได้รับการชดใช้ความเสียหายด้วยหลักแห่งพฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิด
10.สิทธิที่จะรวมตัวกันเพื่อพิทักษ์สิทธิของตนและของผู้อื่น

ขยะเป็นทอง

ขยะเป็นทอง
รักษาสิ่งแวดล้อมเปลี่ยนขยะให้เป็นทอง
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์(ดร.โทนี่)
                      เมื่อพูดถึงคำว่า “ ขยะ ” มักเป็นสิ่งที่ผู้คนไม่คอยชอบกันและถูกมองในทางลบ เพราะถ้าพื้นที่ไหนมีขยะมากๆ พื้นที่นั้นมักจะมีปัญหามากตามมา ดังเช่น ขยะ เป็นปัญหาใหญ่อันดับหนึ่ง ในกรุงเทพมหานคร จากข้อมูลมีปริมาณขยะสูงถึง 8.5 พันตันต่อวัน หากคิดเฉลี่ยเป็นรายบุคคลแล้ว 1 คนจะก่อให้เกิดขยะในปริมาณ 0.8 - 1 กิโลกรัมต่อวัน
               จึงเป็นภาระหนักของ กทม. ในการกำจัดขยะเหล่านั้น ปริมาณขยะที่เกิดขึ้นมากมายนี่เองส่งผลให้มีขยะตกค้างเป็นจำนวนมากในแต่ละ วันส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสภาพความเป็นอยู่ในสังคมมากมาย ได้แก่
                  - บ้านเมืองสกปรกไม่น่ามอง เสียทัศนียภาพ ส่งกลิ่นเหม็นรบกวน
                 - เป็นแหล่งเพราะพันธุ์สัตว์และพาหนะนำโรคต่าง ๆ เช่น หนู แมลงสาบ แมลงวัน ทั้งยังเป็นแหล่งแพร่เชื้อโรคโดยตรง เช่น อหิวาตกโรค อุจจาระร่วง บิด โรคผิวหนัง บาดทะยัก โรคทางเดินหายใจ เป็น 
              - ทำให้เกิดการปนเปื้อนของสารพิษ เช่น ตะกั่ว ปรอท ลงสู่พื้นดิน และแหล่งน้ำ - ทำให้แหล่งน้ำเน่าเสีย - ท่อระบายน้ำอุดตัน อันเป็นสาเหตุของปัญหาน้ำท่วม - เป็นแหล่งกำเนิดมลพิษทางอากาศ เช่น ฝุ่นละออง เขม่า ควัน จากการเผาขยะ และเกิด ก๊าชมีเทนจากการฝังกลบขยะ
              - ขยะบางชนิดไม่ย่อยสลาย และกำจัดได้ยาก เช่น โฟม พลาสติก ทำให้ตกค้างสู่สิ่งแวดล้อม ( ข้อมูล จาก http://www.bu.ac.th/hotnews/iso/isomain3.html) แต่ในดีมีเสีย ในเสียมีดี
            ถ้าเรารู้จักเปลี่ยนขยะมาเป็นรายได้ ก็จะทำให้พื้นที่นั้น ชุมชนนั้น มีสภาพเศรษฐกิจที่ดีขึ้น ดังจะเห็นได้จากหลายหน่วยงานในปัจจุบันที่แปรเปลี่ยนขยะมาเป็นทองหรือรายได้ บางแห่งตั้งเป็นธนาคารขยะ บางแห่งตั้งเป็นศูนย์เรียนรู้การกำจัดขยะ ฯลฯ การคัดแยกขยะก่อนทิ้ง การรีไซเคิลขยะ ถ้าทำกันอย่างจริงจังแล้ว
         เราสามารถสร้างรายได้อย่างมหาศาลเลยที่เดียว เช่น พลาสติก ขวดแก้ว กระป๋องเครื่องดื่ม เศษเหล็ก เศษสังกะสี เศษกระดาษ เศษแก้ว ฯลฯ จนบางแห่งสามารถทำเป็นรูปธุรกิจ แล้วขายแฟรนไชส์ได้อีกด้วย ดังเช่น แฟรนไชส์ วงษ์พาณิชย์ ส่วนที่เหลือ ยังสามารถทำเป็นปุ๋ยหมักจากขยะอินทรีย์อีกด้วย
             ดังจะเห็นได้จากข้อมูล นายเกษม ทองปาน รองอธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน เปิดเผยว่า ขณะนี้กรมพัฒนาที่ดินจัดกิจกรรมรณรงค์การจัดการวัสดุเหลือใช้ผลิตปุ๋ย อินทรีย์ เพื่อลดการใช้ปุ๋ยเคมีในโครงการแปลงขยะเป็นทอง ด้วยการนำขยะหรือเศษอาหาร วัสดุเหลือใช้ในครัวเรือนและภาคเกษตรมาแปรรูปเป็นปุ๋ยหมัก ปุ๋ยอินทรีย์ สารบำบัดน้ำเสียและขจัดกลิ่นเหม็น
           โดยนำร่องใน 4 จังหวัด คือ เชียงใหม่ อุบลราชธานี กรุงเทพฯ และปริมณฑล ( นสพ.แนวหน้า 6 มิย.51) และที่สำคัญ ขยะยังเปลี่ยนเป็นกระแสไฟฟ้าได้อีกด้วย จากการที่บริษัท Biffa ประเทศเบลเยี่ยม ซึ่งอยู่ในเครือของบริษัทอังกฤษ ได้ทดลองผลิตกระแสไฟฟ้าจากก๊าซที่เกิดจากการย่อยสลายของขยะได้สำเร็จ
            นี่คือประโยชน์ของ ขยะ สิ่งปฏิกูล ซึ่งไม่เป็นที่ต้องการของใครๆ และทุกคนรังเกียจมัน กำลังเป็นปัญหาก่อความเดือดร้อนให้กับชาวกรุงเทพ และชาวเมืองอุตสาหกรรมในขณะนี้ แต่ถ้าเรานำไปใช้ให้ถูกทางมันก็จะกลายเป็นสิ่งที่มีคุณค่าอย่างยิ่ง

นายผู้ทารุณ

นายผู้ทารุณ
สุทธิชัย ปัญญโรจน์
www.drsuthichai.com
                เมื่อ วันก่อนกระผมได้รับจดหมายฉบับหนึ่ง ซึ่งเป็นจดหมายที่กระผมไม่อยากได้รับ เพราะเป็นจดหมายขอบสีดำ เมื่อเปิดออกดูจึงรู้ว่าเป็นจดหมายเชิญให้ไปร่วมงานศพ ของน้าชายซึ่งเป็นที่รักและเคารพของกระผม
                น้าชายคนนี้ตายก่อนวัยอันควรด้วยโรคมะเร็งในปอด ซึ่งเป็นผลเกิดจาก บุหรี่ หรือ นายผู้ทารุณ นั่นเอง
          บุหรี่ มีลักษณะเป็นทรงกระบอกม้วนห่อด้วยกระดาษ (ขนาดปกติจะมีความยาวสั้นกว่า 120 มิลลิเมตร และ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน 10 มิลลิเมตร) มีใบยาสูบบด หรือซอยบรรจุภายในห่อกระดาษ ปลายด้านหนึ่งเป็นปลายเปิดสำหรับจุดไฟ และอีกด้านหนึ่งจะมีตัวกรอง ไว้สำหรับใช้ปากสูดควัน คำนี้ปกติจะใช้หมายถึงเฉพาะที่บรรจุใบยาสูบภายใน แต่ในบางครั้งก็อาจใช้หมายถึงมวนกระดาษที่บรรจุสมุนไพรอื่น ๆ เช่น กัญชา (en:marijuana) (  อ้างอิงจาก วิกีพีเดีย สารานุกรมเสรี)
                บุหรี่ ต่างจาก ซิการ์ (en:cigar) ตรงที่บุหรี่นั้นมีขนาดเล็กว่า และใบยาสูบนั้นจะมีการบดหรือซอย รวมทั้งกระดาษที่ห่อ ซิการ์โดยปกติจะใช้ใบยาสูบทั้งใบ ซิการ์ชนิดที่มีขนาดเล็กพิเศษเท่าบุหรี่ เรียกว่า ซิการ์ริลโล (en:cigarillo) บุหรี่เป็นที่รู้จักในกลุ่มคนที่ใช้ภาษาอังกฤษตั้งแต่ก่อนสงครามแห่งครายเมีย เมื่อทหารแห่งจักรวรรดิอังกฤษ เริ่มเลียนแบบการใช้กระดาษหนังสือพิมพ์ห่อใบยาสูบ จากทหารตุรกีแห่งอาณาจักรออตโตมัน
(  อ้างอิงจาก วิกีพีเดีย สารานุกรมเสรี)
                ท่านผู้อ่านครับ ทำไมผมถึงเรียกบุหรี่ว่า นายผู้ทารุณ ก็ เพราะมันฆ่าคนไทยไปปีหนึ่ง หลายหมื่นคน ทำลายทรัพย์สินปีละหลายหมื่นล้านบาท ในบุหรี่มีสารพิษมากมาย ซึ่งวงการแพทย์ได้ระบุว่ามีมากถึง 1,350 ชนิด แต่ละอย่างสร้างพิษภัยให้กับผู้สูบอย่างมหันต์ เช่น ไนโครชามีน ทำให้เกิดโรคมะเร็งในปอด อัลคาร์ลอยนิโคติน ทำให้หลอดเลือดตีบ ฯลฯ
                นอก จากนั้นยังบั่นทอนสุขภาพโดยตรงแล้ว มันยังสามารถทำให้ท่านตายเร็วขึ้น ในแต่ละมวนจะเพิ่มความตายให้ท่านถึง 6 นาที คนสูบบุหรี่วันละ 1 ซอง หรือ 20 มวน จึงต้องอายุสั้นลงอีก 10 ปี ยังไม่นับถึงเรื่องของบุคลิก หน้าซีดเซียว  ริมฝีปากเขียวคล้ำ ตาเหลือง นิ้วมือเหลือง เหม็นกลิ่นบุหรี่ติดตัว
                เรื่อง การสูญเสียเงินทองไม่ต้องพูดถึง ขณะนี้ราคาบุหรี่เฉลี่ยซองละ 50 บาท หากสูบวันละ 1 ซอง ปีหนึ่งจะเผาผลาญเงินไปถึง 18,250 บาท 10 ปี เท่ากับ 182,500 บาท ถ้าหากท่านหยุดสูญวันนี้แล้วเก็บเงินไปฝากธนาคารหรือซื้อพันธบัตรรัฐบาล ภายใน 6 ปี ท่านจะได้ดอกเบี้ยทบต้นกลายเป็น 100 %  ( 1 แสน เป็น 2 แสนบาท)
                ท่านผู้อ่านครับ .... ขอให้ท่านที่สูบบุหรี่เลิกสูบตั้งแต่วันนี้ ขับไล่ นายผู้ทารุณ ออก ไปจากชีวิตของท่าน โดยวิธีการคือ ขยี้บุหรี่ในมือของท่านทิ้งไป(ไม่พกบุหรี่ติดตัว) ทิ้งไฟแช็คของท่านทิ้งไป (ทิ้งอุปกรณ์การสูบบุหรี่ทั้งหมด) ไม่เข้าใกล้คนที่กำลังสูบบุหรี่ เบี่ยงเบนความสนใจถ้าอยากสูบบุหร่ขึ้นมา(อาบน้ำ เล่นกีฬา)  เสริม กำลังใจให้ตนเอง เช่น ทบทวนผลเสียของการสูบบุหรี่ บอกคนข้างเคียงว่ากำลังเลิกบุหรี่ เก็บเงินใส่ในออกสิน ให้รางวัลตนเองถ้าเลิกบุหรี่ได้ คิดถึงคนที่ท่านรัก กำหนดจิตใจให้เข้มแข็งหนักแน่น ภายใน 1 อาทิตย์
                ท่าน จะรู้สึกสดชื่นกับชีวิตใหม่ ที่สำคัญท่านยังประหยัดเงินให้ลูกหลานได้กินขนม แทนที่จะซื้อหาบุหรี่มาฆ่าตัวตายแบบผ่อนส่งอย่างเช่นทุกวัน