วันอังคารที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2554

เข้าพรรษา เลิกเหล้า เลิกจน

เข้าพรรษา เลิกเหล้า เลิกจน
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
www.drsuthichai.com
            เรื่องของการเลิกเหล้า เข้าพรรษา ได้มีการพูดกันมานานแล้ว หลายปี  จากตัวเลขการรณรงค์ นับว่าได้ผลเป็นอย่างยิ่ง เพราะบางปีสามารถลดการดื่มเหล้าในช่วงดังกล่าวได้ถึง ร้อยละ 30 เลยทีเดียว
การ งดเหล้าเข้าพรรษาแค่เพียง 3 เดือน จากข้อมูลการงดเหล้าเข้าพรรษาปี 2549 มีผู้งดเหล้าเข้าพรรษา 5 ล้านคน ทำให้คนงดเหล้าเข้าพรรษามีเงินเพิ่มขึ้น เฉลี่ยเดือนละ 1,188.97 บาท เท่ากับว่า 3 เดือนเข้าพรรษา จะมีเงินเก็บ 6,000 ล้านบาทเลยทีเดียว
                ถ้า เราจะคิดง่ายๆ ถ้าเราตั้งสมมุติฐานว่า หากชาวบ้านจำนวน 100 คน ดื่มอย่างหนักวันละ 1 เป็ก ราคาเป็กละ 5 บาท จะสูญเงินลงขวดเท่ากับ 500 บาท ถ้า 30 วัน จะสูญเงินเท่ากับ 15,000 บาท
ถ้า 90 วันหรือ 3 เดือน จะสูญเงินเท่ากับ 45,000 บาท เลยทีเดียว เท่ากับซื้อรถจักรยานยนต์คันใหม่ได้ถึง 1 คัน
                แถมการลด ละ เลิก 3 เดือนในช่วงเข้าพรรษา ยังทำให้ช่วยลดอุบัติเหตุต่างๆ รวมทั้งการทะเลาะวิวาท อีกด้วย  การ เลิกเหล้า เลิกจน แล้วนำเงินที่ดื่มเหล้ามาออม คือ ความคิดที่ควรนำมาใช้ให้มากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในชุมชน หมู่บ้าน เพราะถ้าหากทุกชุมชน ทุกหมู่บ้านแก้ไขปัญหาการดื่มเหล้า ดื่มสุราได้ตรงจุด จะทำให้ชุมชนเข้มแข็ง มีเงินหมุนเวียนใช้จ่ายในชุมชนอย่างมากมายมหาศาล
โครงการเลิกเหล้าเข้าพรรษาเป็นโครงการที่ดี แต่กระผมอยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง น่าจะมีโครงการ
ต่อเนื่องให้คนที่เลิกเหล้าเข้าพรรษาได้เข้าโครงการเลิกดื่มไปเลย  คือ ให้เลิกดื่มจาก 3 เดือน เป็น เลิก 12 เดือนไปเลยเพื่อสุขภาพ เพื่อครอบครัว  เพื่อสังคมและเพื่อประเทศชาติ
                สำหรับ ตลาดของการดื่มเหล้า บริษัทขายเหล้า ได้พยายามขยายตลาดโดยเฉพาะ กลุ่มเยาวชนและวัยรุ่น เป็นตลาดกลุ่มใหม่ของบริษัทขายเหล้า ขายเบียร์ ซึ่งเด็กเยาวชนและวัยรุ่น เป็นกลุ่มที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่ง เพราะ การตลาดของบริษัทขายเหล้า ขายเบียร์ มีการใช้กลยุทธ์หลายอย่างเพื่อจูงใจให้เด็กกลุ่มดังกล่าวได้ มีโอกาสดื่มเหล้า มากขึ้น และกลุ่มนี้ เมื่อได้ดื่มแล้ว คงต้องดื่มไปได้อีกนานเนื่องจากอายุยังน้อยเมื่อเทียบกับวัยผู้ใหญ่  ดังจะเห็นได้จากกรณีมีการถ่ายคลิป การซื้อเหล้า เบียร์ตามบริเวณใกล้สถานศึกษา เมื่อไม่นานมานี้
                อีกทั้งกลุ่มเด็ก เยาวชนไม่มีรายได้ ต้องพึ่งผู้ปกครอง พ่อแม่ และเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา                       
            สำหรับเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา สมัยก่อนไม่มีครับ พึ่งมามีไม่กี่ปี  ข้อดีของเงินกู้เพื่อการศึกษาก็คือ ทำให้เด็กที่ต้องการศึกษาต่อมีโอกาสในการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น  แต่ ผลเสียก็อย่างที่มีคนกล่าวถึงก็คือ เด็กบางคนนำเงินไปซื้อ มือถือ ผ่อนรถจักรยานยนต์ เที่ยว และที่สำคัญคือนำเงินไปซื้อเหล้า เบียร์ เป็นต้น
                และรัฐบาลปัจจุบันก็มีแนวคิดจะขยายเพดานรายได้ครอบครัวของผู้มีสิทธิ์กู้กองทุน กยศ.เป็น 2.5 แสนบาทต่อปี จากเดิม 2 แสนบาทต่อปี  ใน ด้านหนึ่งกระผมคิดว่าเป็นการช่วยเหลือเด็กยากจนและเด็กด้อยโอกาสเพิ่มมาก ขึ้น แต่รัฐบาลต้องมีภาระเพิ่มขึ้น เนื่องจากการกู้ กยศ.ไม่ได้สิ้นสุดเพียงแค่ปีเดียว
ท้าย นี้ ก็ต้องขอฝากเด็กที่มีสิทธิ์กู้กองทุน กยศ. เมื่อมีโอกาสก็ต้องใช้โอกาสให้เป็นประโยชน์มากที่สุดไม่ควรนำเงินไปใช้ นอกวัตถุประสงค์ของผู้ให้กู้
                สุดท้ายก็ขอฝากแง่คิดของ ท่าน ว.วชิรเมธี เพื่อให้กำลังใจคนตั้งใจอธิษฐานงดเหล้าเข้าพรรษาว่า
           "ขอ ให้ตั้งใจดีๆ เพราะถ้าตั้งใจก็ถือว่าสำเร็จไปแล้วครึ่งหนึ่ง ขอให้เพียรพยายามต่อไป อย่าท้อ หากล้มเหลวก็จงให้อภัยตัวเองแล้วเริ่มต้นใหม่ เชื่อว่าในที่สุดต้องเอาชนะเหล้าได้อย่างแน่นอน เพราะก่อนหน้านี้ เราไม่ดื่มเหล้าเราก็อยู่ได้ และถ้าวันหนึ่งเราจะประกาศอิสรภาพจากเหล้า เราก็ต้องทำได้เช่นกัน"

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น