วันอังคารที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2554

ตลาดอาหารปลอดภัย

ตลาดอาหารปลอดภัย
ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
www.drsuthichai.com
ความ จริงการขายอาหารปลอดภัย ผักไร้สารพิษ นับว่าเป็นสิ่งที่ดี เนื่องจากทำให้สุขภาพของคนไทยในปัจจุบันดีขึ้น แต่ผู้ปลูกผักไร้สารพิษหรือผู้ผลิตอาหารปลอดภัย มักจะบ่นว่าไม่มีตลาดรองรับ โดยเฉพาะผู้ผลิตและผู้จำหน่ายในต่างจังหวัด
                ถึง แม้ว่าหลายจังหวัดได้มีโครงการและส่งเสริมการตลาดสำหรับอาหารปลอดภัย เช่น จังหวัดจันทบุรี ได้จัดโครงการตลาดอาหารปลอดภัย ผักไร้สารพิษ ในช่วงเดือนมกราคม 2552 ที่ผ่านมา ภายในงานมีการตรวจเลือดหาสารพิษในร่างกายจำนวน 152 คน โดยมีประชาชนที่ตรวจมากถึง 77 คน หรือเกือบครึ่งหนึ่งของผู้มาตรวจเลือดหาสารพิษก็ว่าได้
                หรือ ที่กรุงเทพมหานคร ก็ได้มีการจัดให้มีการประกวดตลาดสะอาดได้มาตรฐานอาหารปลอดภัย ตั้งแต่ มีนาคมที่ผ่านมาโดยมีตลาดที่เข้าประกวดทั้งสิ้น 61 แห่ง แต่เข้าเกณฑ์ตลาดสะอาดได้มาตรฐานเพียง 41 แห่ง
                และจังหวัดพะเยา ก็ได้จัดโครงการส่งเสริมและพัฒนาสินค้าเกษฅรคุณภาพจากผู้ผลิตส่งผู้บริโภคจังหวัดพะเยา ในวันที่ 19 สิงหาคม 2552 ณ  ศาลาประชาคม ศาลากลางจังหวัดพะเยาภายในงานก็มีการเสวนาเรื่อง สินค้าปลอดภัยจากผู้ผลิตสู่ผู้บริโภค โดย มีการจัดบอร์ดนิทรรศการ, การจัดตลาดนัดสินค้าเกษตรปลอดภัย,การตอบปัญหาด้านเกษตรและการตรวจสารพิษตก ค้างในเลือดอีกทั้งสารปนเปื้อนในอาหารด้วย
                ถาม ว่าทำไมเกษตรกรถึงใช้ยาฆ่าแมลง สารเคมีต่างๆ ทั้งๆที่รู้ว่าทำให้ผู้บริโภคไม่ปลอดภัย คำตอบอาจเป็นเพราะ ค่านิยมที่เกิดจากตัวผู้บริโภคเองที่ต้องการ ผัก ผลไม้ต้องสวย จึงทำให้ผู้ผลิตต้องหันมาพึ่งสารเคมีกำจัดศัตรูพืช สำหรับผัก ผลไม้ที่ไม่ใช่สารเคมี ต้องคัดแยกผัก ผลไม้ที่ต้นหรือผลไม่สวยออก จนบางครั้งต้องคัดทิ้งถึง
25 เปอร์เซ็นต์เลยทีเดียว
                สำหรับกระผมเชื่อว่า ถ้าพวกเราเลือกได้อยากรับประทานอาหารปลอดภัย  ไม่ว่า ไก่ กุ้งแช่แข็ง ผักสด ผลไม้ และสินค้าผลิตภัณฑ์เกษตรอื่นๆ มากกว่า อาหารที่มีสารพิษ ที่เกิดจากยาฆ่าแมลง  ปุ๋ยเคมี และสารเคมีต่างๆ ถึงแม้อาหารปลอดภัย อาจจะแพงกว่าอาหารที่มีสารเคมีเพียงเล็กน้อยก็ตาม
                ปัญหามีอยู่ว่า ผู้ผลิตผู้ขาย สินค้าปลอดภัยมักบ่นว่าไม่มีตลาดสำหรับการขายให้แก่ผู้บริโภค  และ ผู้บริโภคก็ไม่รู้จะไปซื้อสินค้าอาหารปลอดภัยจากไหน ถ้าไม่มีการจัดโครงการที่ให้ผู้ผลิตและผู้บริโภคมาพบกัน และสิ่งที่สำคัญ เราจะทราบได้อย่างไรถ้าซื้อสินค้านั้นในตลาดทั่วไปว่านี่คือ อาหารปลอดภัย เพราะ ผัก  ผลไม้ ไก่ สินค้าเกษตรที่เห็นมันไม่สามารถแยกได้ด้วยสายตาคนเรา ถ้าไม่มีการตรวจสารปนเปื้อน
                ดัง นั้น ผมคิดว่า ผู้ผลิตและผู้ขายอาหารปลอดภัย ควรพัฒนาตราสินค้าของผลิตภัณฑ์อาหารปลอดภัยโดยเฉพาะการเกษตร โดยอาจนำคนกลางมีการควบคุมมาตรฐาน ดังตัวอย่าง ถ้าใครต้องการส่งออกต้องมี ISO ก่อน ฉะนั้น จังหวัดควรให้การสนับสนุนและหาหน่วยงานมาดูแลเป็นพิเศษ ถ้ารอนโยบายจากส่วนกลางอาจล่าช้า อีกทั้งควรดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ไม่ใช่ทำโครงการเสร็จแล้วก็ปล่อยให้เกษตรกรที่ผลิตอาหารปลอดภัยตามยถากรรม
                เช่น จังหวัดนครปฐมมีกลุ่มแม่บ้านเกษตรผู้ปลูกผักปลอดภัยจากสารพิษ บ้านห้วยพระ ต.ห้วยพระ อ.ดอนตูม จ.นครปฐม รวมกลุ่มผลิตผลไม้ ผักปลอดสารส่งให้กับ บริษัท กำแพงแสน คอมเมอร์เชียล จำกัด หรือ KC Fresh
                ดังนั้น การตลาดหรือช่องทางการตลาด อาหารปลอดภัยจากสารพิษ เกษตรกรภายในจังหวัด หน่วยงานราชการ รวมทั้งคนในจังหวัดต้องร่วมมือกัน
                เกษตรกร ภายในจังหวัดที่ปลูกหรือผลิต อาหารสารพิษ ต้องจริงจังและจริงใจ ในการปลูกโดยไม่ใช่สารเคมีจริงๆ เพราะบางกรณี เมื่อขายได้แล้ว มีคนเชื่อว่าเป็นอาหารปลอดภัยจริง ไม่มีสารพิษจริง ถึงตอนนั้นเกษตรกรบางรายกลับหันไปใช้สารเคมี เนื่องจากขายไม่ทัน การใช้สารเคมีทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น และไม่ต้องทิ้งผักหรือผลไม้ที่ไม่สวย 25 เปอร์เซ็นต์ทิ้ง
                หน่วย งานราชการ ต้องช่วยกันสนับสนุน ไม่ว่าจะเป็นสำนักงานเกษตรจังหวัด พาณิชย์จังหวัด หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ต้องช่วยกันประชาสัมพันธ์ สนับสนุน มีหน่วยงานพิเศษที่ลงมาดูแลเรื่องดังกล่าว มีหน่วยงานรับรองอาจให้ป้ายรับรองว่าร้านนี้เป็น อาหารปลอดภัยจริง
                ประชาชน ภายในจังหวัดก็ควรให้การสนับสนุน ซื้ออาหารปลอดภัย ภายในจังหวัดของตนก่อน การซื้อของประชาชนภายในจังหวัดจะทำให้ เกษตรกรที่ผลิตหรือขาย อาหารปลอดภัย อยู่ได้ อีกทั้งสุขภาพของผู้บริโภคก็จะดี ไม่มีโรคภัยที่เกิดจาก อาหารที่ปนกับสารเคมี
               
               

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น