วันพุธที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2554

จริยธรรมของสังคมไทย

อาจารย์สุทธิชัย  ปัญญโรจน์(อ.โทนี่)
ม.นเรศวร พะเยา
www.drsuthichai.com
จริยธรรมของคนในสังคมไทย
          จริยธรรม  เป็นหนึ่งในวิชาหลักของ วิชา ปรัชญา ซึ่งศึกษาเกี่ยวกับความดีงามทางสังคมมนุษย์  จำแนกแยกแยะว่าสิ่งไหนถูกและสิ่งไหนผิด  หากจะอธิบายอย่างง่ายๆ แล้ว จริยธรรม หมายถึง   การแยกสิ่งถูกจากผิด  ดีจากเลว
                ความหมายตามพจนานุกรมในภาษาไทย  จริยธรรม หมายถึง ธรรมที่เป็นข้อประพฤติ  
ศิลธรรมอันดี
          แต่โดยส่วนตัวกระผมขอจำกัดความคำว่า จริยธรรม ว่า การทำความดี
                ถ้าพูดถึงคนทุกอาชีพในสังคมไทยเรา  ย่อมจะต้องมีจริยธรรมอยู่ เช่น นักการเมือง ก็ต้องมีจริยธรรมของนักการเมือง , หมอ ก็ต้องมีจริยธรรมของหมอ  , ครู อาจารย์  ก็ต้องมีจริยธรรมของ ครู อาจารย์  , สื่อมวลชน ก็คงต้องมีจริยธรรมของความเป็นสื่อมวลชน ฯลฯ
          แต่ในยุคปัจจุบัน ความเจริญก้าวหน้าทางด้านวัตถุนิยม เข้ามาอย่างรวดเร็ว ทำให้ความดีงาม  หรือ จริยธรรมของคนเรา กลับไม่เจริญก้าวหน้าตาม ซ้ำร้ายกลับ ลดน้อย   ถอยลง
                สังคม ไทยในยุคปัจจุบันมีการแข่งขันสูง จนทำให้เกิดการเอาเปรียบซึ่งกันและกัน การเอาเปรียบกันในสังคมจึงมีทุกระดับ ตั้งแต่ขอทานไปจนถึงนายกรัฐมนตรี   
                ระบบอุปถัมภ์นำเราไปสู่การขาดจริยธรรม  การเล่นพรรค เล่นพวก  การไม่แยกระหว่างเพื่อน  ญาติ และหน้าที่  การช่วยคนกระทำผิดให้พ้นผิด ถ้าคนคนนั้นคือ พรรคพวกเดียวกัน   แต่ถ้าคนละพวก ก็ไม่ให้การช่วยเหลือ  ทำให้ขาดการเสมอภาคในสังคมไทย
                ดังนั้น  ถ้าเราเรียกหา จริยธรรมของคนในสังคมไทย  เราคงต้องแก้ไขทั้งระบบของสังคม ไม่ว่าเราจะประกอบอาชีพอะไร? ต้องมีจริยธรรมอยู่ในตัวเราเสมอ เช่น 
                สื่อมวลชนซึ่งถูกยกย่องว่าเป็นฐานันดรที่ 4  เคยพิจารณาตัวเองบ้างไหม ว่าวางตัวเป็นกลางหรือไม่
เสนอข่าวตรงไปตรงมาหรือเปล่า   ไม่ทำตามคำสั่งใคร   รับใช้นายทุนมากเกินไปหรือไม่ 
          พ่อค้า  แม่ค้า ไม่คิดเอาเปรียบลูกค้า โดยเอาสินค้าที่ไม่มีคุณภาพมาขาย  ไม่ผสมสิ่งแปลกปลอม ซึ่งเป็นอันตรายให้ผู้บริโภคทาน
                ครู  อาจารย์ เป็นอีกอาชีพหนึ่ง ที่เป็นตัวอย่างให้กับสังคม รวมทั้งนักเรียน นิสิต นักศึกษา และตามหลักวิชาชีพ ครู อาจารย์ ต้องเสียสละ แต่ปัจจุบันเห็นข่าวคราวเรื่อง การขาดจริยธรรมของ ครู  อาจารย์ เกิดขึ้นบ่อย ตามหน้าหนังสือพิมพ์  โทรทัศน์ และสื่อต่างๆ
                ข้าราชการตั้งแต่ระดับเล็กไประดับใหญ่  ตามหน้าที่คือต้องรับใช้ประชาชน ให้บริการแก่ประชาชน
ทุกระดับ  ทุกเรื่อง แต่ปัจจุบันลองไปดู  การบริการบางแห่งมีการลัดคิว เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่พรรคพวกและคนมีเงิน  และมีการทุจริตในหน้าที่ในหน่วยงานรัฐบางแห่งโดยเฉพาะหน่วยงานที่ดูแลผลประโยชน์มาก
                พระสงฆ์  ความ จริงตามหลักต้องมีจริยธรรม เหนือประชาชนทั่วไป แต่พระสงฆ์ บางรูป มีพฤติกรรม ที่ขาดจริยธรรม ยิ่งกว่าคนโดยทั่วไปเสียอีก เราจะเห็นได้ตามสื่อต่างๆ จน ทำให้คนบางส่วนของสังคมไทย ขาดความนับถือใน ศาสนาไปเลยก็มี ไม่ว่าการมีเพศสัมพันธ์กับสีกาหรือผู้หญิง ทั้งๆที่เป็นข้อห้ามทางศาสนา
การสะสมวัตถุ  เงินทอง ต่างๆ ของ พระสงฆ์ ซึ่ง ตามหลักศาสนาให้  ลด ละ สิ่งต่างๆ เหล่านี้
ดังนั้น เราคงต้องมาช่วยกัน ดูแล ควบคุม จริยธรรมของคนในสังคมไทย ถึงแม้จะเป็นเรื่องที่ยาก แต่อย่างน้อย  การประกอบอาชีพใด ก็ควรมีจริยธรรมในอาชีพนั้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น